Thursday, December 17, 2015
Monday, August 24, 2015
กิจกรรมที่ 5
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2558
วันที่ 4 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการโดยมีชื่อเต็มๆว่า
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2)ปี 2558
เพื่อป้องกันการนำข้อมูลในโซเชียลมีเดียของคนอื่นไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์โดยไม่ให้เครดิต
ถือเป็นการลงโทษนักก๊อปปี้ นักแชร์ข้อมูลก็ว่าได้ โดย
สาระสำคัญของการแก้ไขพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้กำหนดอัตราโทษนักก๊อบปี้นักแชร์ทั้งหลายที่ไม่ให้เครดิตเจ้าของผลงานปรับ
1 หมื่น-1 แสนบาท หากกระทำเพื่อการค้ามีโทษปรับตั้งแต่ 5 หมื่น-4
แสนบาทและเพิ่มเติมมา8ประเด็นสำคัญใน พ.ร.บ.ด้วย
1.คุ้มครองสิทธิของตนเองไม่ให้คนอี่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
2.คุ้มครองงานลิขสิทธิ์ที่เจ้าของใส่พาสเวิร์ดเอาไว้หากมีการเจาะข้อมูลจะถือว่ามีความผิด
3.กรณีทำซ้ำชั่วคราว เช่น
ดูหนังฟังเพลง ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
4.เจ้าของลิขสิทธิ์ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ได้
5.การขายภาพเขียน หนังสือ
ที่มีลิขสิทธิ์ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์
แม้ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวิดีทัศน์ด้วย
6.เพิ่มสิทธินักแสดงโดยให้มีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง
และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
7.ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย
และ 8.ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด
และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้
รูปในเน็ตใช้อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเนื้อหานั้นอธิบายแบ่งเป็นสองส่วน
ละเมิดและไม่ละเมิด
โดยส่วนที่เป็นการละเมิดนั้น
ส่วนใหญ่คือนำข้อมูล รูปภาพไปทำประโยชน์ทางการค้า นำมาซึ่งรายได้ เช่น
ไปสกรีนเป็นลายเสื้อแล้ว ทำเว็บไซต์บริษัท องค์กร ร้านค้า
หรือเว็บอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดรายได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของรวมไปถึงนำไปประกอบบทความ
ก๊อปปี้จาก facebook คนอื่นมาไว้ของตัวเองแล้วตัดเครดิตออกไม่ใช้เครดิตหรือนำมาตัดต่อหารายได้เข้าข่ายละเมิดเช่นกัน
แล้วทำอย่างไรถึงจะไม่ถือว่าเป็นการละเมิด ก็อย่างเช่น ใช้ทำ presentation ใช้ในการประชุมภายในองค์กร
ประกอบรายงานส่งอาจารย์ เนื้อหาการเรียนโดยไม่เกิดรายได้
แต่ต้องให้เครดิตภาพแหล่งที่มาด้วย หรือถ้าเอาใช้เป็น wallpaper หน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอันนี้ได้ไม่ถือว่าละเมิด
หรือไปกด like กดแชร์ ติชม
รูปก็ได้เช่นกันเพราะไม่ก่อให้มีรายได้ขึ้นมา
หรือสุดท้ายทางที่ดีปลอดภัยที่สุดถ้าต้องการใช้ข้อมูลรูปภาพนั้นจริงๆ
ก็ตกลงกับเจ้าของข้อมูลเลยค่ะโดยกำหนดเงื่อนไขระหว่างกัน
ประการแรก
มาดูเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนว่า ละเมิดลิขสิทธ์คืออะไร ตามภาพนี้ก็คือ
การนำเอาภาพ บทความ คลิป หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลงานของคนอื่นมา ทำซ้ำ ดัดแปลง
แก้ไข และเผยต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน (หมายความว่า
ถ้าได้รับการอนุญาตก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)
บทลงโทษ ค่อนข้างแรง ค่าปรับสูง โดยเฉพาะถ้าเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก็จะยิ่งสูงขึ้น
นี่คือคำตอบของคนที่ใช้ Facebook บ่อยๆ
แชร์ไปเถอะถ้าเราไม่ได้นำไปทำธุรกิจ หรือขายสินค้า
แต่ต้องบอกที่มาที่ไปหน่อยนะครับว่า รูป บทความ ของใครจากไหน
เรื่องการแปะคลิป เช่น ใน Youtube ต้องดูว่าเขาอนุญาตหรือไม่
ทางที่ดี ขออนุญาตก่อน หรือไม่ก็ capture รูปมาลงแล้วใส่ลิงค์ไปที่คลิปเขาจะดีกว่า
ถ้าเป็นคลิปจาก Facebook เอาไปแชร์ก็ต้องให้เครดิต
สำหรับเนื้อหาที่แปลจากต่างประเทศ ถ้าเป็นข่าว ไม่ผิด
แต่ถ้าเป็นบทความ แปลคำต่อคำ ถือว่าผิด แต่เรียบเรียงใหม่ไม่ผิด และเขียนใน
บล็อกส่วนตัว ไม่มีแบนเนอร์ไม่ผิด แต่ถ้าติดแบนเนอร์ มีรายได้
ถือว่าใช้ในเชิงพาณิชย์ถือว่าผิด
Tuesday, July 14, 2015
กิจกรรมที่ 2
1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้
คือ เป็นโครงงานที่ใช้
คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้าง
โปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบ
ฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถ
เรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจ
เป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วย
ตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้
ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่
เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง
โครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล
ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทยและ
สถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น
คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้าง
โปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบ
ฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถ
เรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจ
เป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วย
ตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้
ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่
เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่าง
โครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล
ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทยและ
สถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น
2.โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
โครงงานประยุกต์ใช้ งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ใน
การ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิ
เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร
ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุ
คนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้าง
สิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นโครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์
ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการ
ออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบ
การทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุง
แก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้
เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือ
Cr:
https://www.google.co.th/search?q=โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา&biw=1600&bih=
3.โครงงานพัฒนาเกม
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนา ซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
Cr:
https://www.google.co.th/search?q=โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
4.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
Cr:
https://www.google.co.th/search?q=โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา&biw=1600&bih=7
5. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
โครงงานประเภทนี้เป็น โครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
Subscribe to:
Posts (Atom)