7 วิชาสามัญ
7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม
สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบจ้า
ใครต้องสมัครบ้าง
คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า
มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
มีประมาณ 7 แห่งครับ ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะเศรษฐศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - คณะวิทยาการจัดการ - คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร - คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ - คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัยนะครับ น้องๆ อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วยนะ
7 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ มันคืออันเดียวกันไหม
คนละอันกันครับ พูดง่ายๆ ก็คือ 7 วิชาสามัญเป็นส่วนหนึ่งในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ โดยยกตัวอย่างว่า ระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" จะเป็นระบบที่เปิดให้น้องๆ มายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียงแค่ 1 คณะเท่านั้น เช่น พี่ลาเต้ วิ่งสอบรับตรงทั่วประเทศติดทั้งหมด 4 มหาวิทยาลัย โดย 4 มหาวิทยาลัยที่ติดนั้นเข้าร่วม "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทั้งหมด พอถึงเวลาที่ยืนยันสิทธิ์ พี่ลาเต้ ก็เลือกได้แค่ 1 แห่งเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่งก็จะกลายเป็นที่นั่งว่าง และรับเพิ่มในรอบแอดมิชชั่นกลางต่อไป ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสอบตรงติด 4 ที่ ก็ยืนยันสิทธิ์มัน 4 ที่ไปเลยก็ได้ จนอาจเป็นกักที่คนอื่นในที่สุด T^T ส่วน 7 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบ 7 วิชาที่จัดสอบโดย สทศ. ออกมาเพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของน้องๆ และลดภาระการจัดสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นเอง (GET แล้วใช่ปะ)
มีคณะไหน ที่สอบทั้ง GAT PAT และ 7 วิชาสามัญ แถมยังเข้าเคลียริ่งเฮ้าส์ไหม
มีครับ หลายคณะเลย พี่ขอยกตัวอย่างเป็นคณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ดีกว่า น้องๆ ที่สอบคณะนี้ก็ใช้ชีวิตตามปกติไปสอบ GAT PAT ในเดือน พ.ย. 54 จากนั้นเดือน ม.ค. 55 ก็ไปสอบ 7 วิชาสามัญ (รู้สึกสหเวชฯ จะใช้แค่ 6 วิชา) ซึ่งหลังจากที่กระบวนสอบต่างๆ เสร็จ ก็จะมีการประกาศผลว่าใครติด หรือไม่ติด (หากติดก็ดีใจด้วย เย้ เย้) จากนั้นประมาณเดือนมีนาคมปี 55 น้องๆ ที่ติดผ่านรับตรงของสหเวชฯ ม.ธรรมศาสตร์ ก็จะต้องไปยืนยันสิทธิ์ในระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทางเว็บไซต์ของ สอท.เพื่อยืนยันว่าจะเลือกศึกษาเข้าที่ไหน ไม่ว่าเราจะติดกี่มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่จะติดแค่มหาลัยเดียว ก็ต้องยืนยันสิทธิ์ครับ เพราะไม่งั้นอดเรียนแน่ๆ
สมัครที่ไหน อย่างไร
ขั้นตอนการสมัคร จะเหมือนกันกับสมัคร GAT PAT เลยครับ มีให้เลือกสนามสอบด้วยนะ ระบบจะเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 30 ตุลาคม 54 และสอบในต้นเดือนมกราคม 55 ส่วนค่าสมัครวิชาละ 100 บาทคร้าบ อ๋อๆ สนามที่ใช้สอบเบื้องต้นมี 4 ศูนย์นะครับ คือ กรุงเทพฯ (สนามสอบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์) ขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) พิษณุโลก (ม.นเรศวร) และสงขลา (มอ.หาดใหญ่) ซึ่งหากมียอดผู้สมัครมาก ทาง สทศ.อาจเพิ่มสนามสอบให้ครับ รอติดตามๆ ว่าแล้วก็ไปสมัครกันเลยที่เว็บ www.niets.or.th
คณิต 7 วิชาสามัญ
ข้อสอบเลข 7 วิชาฯ เป็น 1 ในการสอบ 7 วิชาสามัญ ที่ใช้ในการยื่นสมัครแพทย์กสพท. และ รับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ตัวข้อสอบ ยากกว่า ONET แต่ง่ายกว่า PAT1 โจทย์จำนวน 30 ข้อ 90 นาที เป็นโจทย์ระบายตัวเลข 10 ข้อ 20 คะแนน และชอยส์ 5 ตัวเลือก 20 ข้อ 80 คะแนน รวม 100 คะแนน แต่คนก็ทำเฉลี่ยได้แค่ 20 คะแนน เพราะว่า ทำไม่ทัน
90 นาที 30 ข้อ ก็มีเวลาให้ทำแค่ข้อละ 3 นาทีเท่านั้น ลองคิดดู แค่อ่านโจทย์ก็ 30 วินาทีแล้ว ถ้าอ่านจบแล้วยังไม่รู้วิธีหาคำตอบ ต้องมาลองนั่งแทนค่า ลองวาดรูป คิดว่าสองนาทีกว่าๆ จะทันหรือไม่?
ถ้าเราใช้เวลาเกินเป็น 5 - 6 นาทีต่อข้อ ก็เหลือเวลาให้ทำแค่ 15 จาก 30 ข้อ ก็แปลว่าคะแนนต่ำกว่า 50 เห็นๆ (ยื่น กสพท. ควรได้ 65 คะแนนอัพ)
สรุป เลข 7 วิชาฯ ไม่ยาก แต่มันเป็นสปีดเทสท์! เห็นโจทย์แล้วต้องรู้วิธีทำเลย ห้ามงง ห้ามเงิบ
อยากรู้ว่าทำไม่ทันยังไง ก็หยิบมือถือมาเตรียมจับเวลา แล้วลองทำข้อสอบปีเก่าจากคลังโอเพ่นดูเรียนได้:
คณิต 7 วิชาฯ ออกอะไรบ้าง?
มีสามบทที่ไม่ออกตรงๆ คือ เซต ตรรกศาสตร์ และฟังก์ชั่น สามบทนี้อย่าเสียเวลาซ้อม รู้แค่นิยาม แค่พื้นฐานก็พอ ไม่ออกตรงๆ แน่ บทที่ไม่ออกเลย คือ กำหนดการเชิงเส้น ไม่ต้องอ่าน ส่วนบทอื่นๆ ออกตามสัดส่วนดังนี้

สีเขียว ออกเยอะ ไม่ยาก เลือกอ่านกลุ่มนี้ก่อน ควรทำให้ได้เต็มหรือเกือบเต็ม
สีส้ม ออกเยอะ แต่ยาก ควรอ่าน แต่ให้ข้ามข้อยากได้บทละข้อ
สีน้ำเงิน ออกง่าย ควรทวนพื้นฐานให้ครบ โจทย์ไม่ซับซ้อน มีโอกาสทำได้ทัน ข้อง่ายควรทำได้
สีแดง ออกยาก ทิ้งได้ถ้าเวลาอ่านไม่พอ โจทย์ซับซ้อนเสียเวลาทำ ถึงทำไม่ได้ก็ยังมีสิทธิ์ได้ 80 คะแนนอัพ แต่ถ้าเวลาเหลือให้เลือกทำข้อง่ายบทละข้อ
คณิต 7 วิชาฯ ใช้ยื่นที่ไหนได้บ้าง?

ข้อมูลปี 58:
- แพทย์ กสพท. 22 มหาลัย/สถาบัน
- จุฬาฯ รับตรงปกติ
- มหิดล รับตรง
- ธรรมศาสตร์ รับตรงบางคณะ เช่น สหเวช ศิลปศาสตร์
- เกษตรศาสตร์ รับตรงเกือบทุกคณะ
- มศว. รับตรง
- มจธ. บางมด รับตรง คณะวิทย์
- และโครงการรับตรง อีกหลายๆ มหาวิทยาลัย
ควรได้คะแนน คณิต 7 วิชาฯ เท่าไหร่
ต้องดูระเบียบการแต่ละคณะแต่ละมหาลัย เพราะแต่ละที่มีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน บางที่ต้องการขั้นต่ำ 30% ก็ต้องได้ 30 คะแนนขึ้นไป ส่วนคณะที่ฮิตๆ ก็ต้องดูสถิติเก่าประกอบด้วย เช่น รับตรงกลุ่ม กสพท. ก็ควรได้เกิน 65 คะแนนถึงจะมีสิทธิ์ลุ้นเป็นต้น
ข้อสอบคณิต 7 วิชาสามัญเป็นข้อสอบที่ไม่ยาก จึงมีคนสอบได้คะแนนเต็มทุกปี ถ้าใครพื้นฐานคณิตศาสตร์ดีๆ ฝึกซ้อมบริหารเวลาให้ชำนาญ น้องก็อาจเป็นคนหนึ่งที่ทำคะแนนเต็มได้
วิทย์ 7 วิชาสามัญ
>> ข้อสอบวิชาฟิสิกส์
- มีทั้งหมด 25 ข้อ (อย่าฝนเกินนะ)
- เน้นออกเรื่อง กลศาสตร์ สมบัติของสาร ความยืดหยุ่น ไฟฟ้า ฟิสิกส์ยุคใหม่
>> ข้อสอบวิชาเคมี
- มีทั้งหมด 50 ข้อ
- เน้นออกเรื่อง อะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมี สมบัติของสาร ปฏิกิริยาเคมี ของแข๊ง
ของเหลว ก๊าซ สมดุลเคมี กรด-เบส ไฟฟ้าเคมี ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
เคมีอินทรีย์ เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ สารชีวโมเลกุล
>> ข้อสอบวิชาชีววิทยา
- มีทั้งหมด 100 ข้อ
- เน้นออกเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (กว้างมว๊ากกกกก)
ทำยังไงให้ได้ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ได้ 30%
: ในบรรดาวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ วิชาไหนที่ ม.6 รุ่นก่อน ๆ บอกว่ายากที่สุดคะ?
พี่โหน่ง ออนดีมานด์ : เท่าที่น้องเคยมาปรึกษา ส่วนใหญ่ก็จะบ่นว่าฟิสิกส์ยากมากถึงมากที่สุด แต่คนที่เขาเก่งฟิสิกส์ก็จะเป็นเคมีหรือชีววิทยาแทนที่ยาก แล้วแต่คนนะน้อง มากกว่าคำถามว่าวิชาไหนยากที่สุด คือมาปรึกษาว่าจะทำยังไงให้ได้เกิน 30%
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : ใช่ค่ะ เพราะว่าน้องที่สอบ กสพท. ส่วนใหญ่ที่พลาดจะพลาดเพราะ 3 วิชาเนี่ย (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) ไม่เถึง 30% บางคนได้ 29% เจ็บใจแล้วเจ็บใจอีก เพราะยังไงก็โดนตัดสิทธิ์ ถึงแม้ว่าวิชาเฉพาะแพทย์จะสูงก็ตาม
: เหลือเวลาอีกเพียงแค่เดือนเดียวแบบนี้ พี่โหน่ง มีวิธีในการเตรียมสอบให้น้อง ๆ อย่างไรบ้างคะ?
พี่โหน่ง ออนดีมานด์ : พี่สอนเสมอนะ หลักง่าย ๆ เลยนะครับน้อง คือการฝึกจับเวลาในการทำข้อสอบ ปัญหาใหญ่ของการที่คะแนนไม่ถึงเพราะว่าน้องทำข้อสอบไม่ทัน เปลี่ยนมาลองจับเวลาตอนฝึกทำข้อสอบดู ข้อสอบแต่ละวิชาจำนวนข้อไม่เท่ากัน อย่างฟิสิกส์มี 25 ข้อ ก็เฉลี่ยไปเลยข้อละ 3 นาที ต้องเหลือเวลาในการตรวจและฝนด้วยนะน้อง
เมื่อลองฝึกทำข้อสอบเสร็จ จับเวลา ก็มาเฉลย ต้องเฉลยแบบละเอียดทีละข้อนะ ไม่ใช่ถูกผิดแล้วผ่านไป ต้องเจาะลงไปแต่ละข้อเลยว่านี้ถูกเพราะคิดถูกหรือเปล่า ข้อนี้ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะเราไม่รู้ หรือผิดเพราะเราไม่แม่น แก้ไปทีละข้อ แรก ๆ ก็ต้องใช้เวลาหน่อย แต่รับรองว่าได้ผลแน่นอนครับ แต่ที่สำคัญตอนลองทำโจทย์ไม่ใช่ว่าทำแค่ให้เกิน 30% พอนะน้อง ต้องทำให้ได้เกิน 40% เผื่อไว้พลาดวันสอบจริงอีกสัก 10% ด้วย
- มีทั้งหมด 25 ข้อ (อย่าฝนเกินนะ)
- เน้นออกเรื่อง กลศาสตร์ สมบัติของสาร ความยืดหยุ่น ไฟฟ้า ฟิสิกส์ยุคใหม่
>> ข้อสอบวิชาเคมี
- มีทั้งหมด 50 ข้อ
- เน้นออกเรื่อง อะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมี สมบัติของสาร ปฏิกิริยาเคมี ของแข๊ง
ของเหลว ก๊าซ สมดุลเคมี กรด-เบส ไฟฟ้าเคมี ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
เคมีอินทรีย์ เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ สารชีวโมเลกุล
>> ข้อสอบวิชาชีววิทยา
- มีทั้งหมด 100 ข้อ
- เน้นออกเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (กว้างมว๊ากกกกก)
ทำยังไงให้ได้ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ได้ 30%
: ในบรรดาวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ วิชาไหนที่ ม.6 รุ่นก่อน ๆ บอกว่ายากที่สุดคะ?
พี่โหน่ง ออนดีมานด์ : เท่าที่น้องเคยมาปรึกษา ส่วนใหญ่ก็จะบ่นว่าฟิสิกส์ยากมากถึงมากที่สุด แต่คนที่เขาเก่งฟิสิกส์ก็จะเป็นเคมีหรือชีววิทยาแทนที่ยาก แล้วแต่คนนะน้อง มากกว่าคำถามว่าวิชาไหนยากที่สุด คือมาปรึกษาว่าจะทำยังไงให้ได้เกิน 30%
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : ใช่ค่ะ เพราะว่าน้องที่สอบ กสพท. ส่วนใหญ่ที่พลาดจะพลาดเพราะ 3 วิชาเนี่ย (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) ไม่เถึง 30% บางคนได้ 29% เจ็บใจแล้วเจ็บใจอีก เพราะยังไงก็โดนตัดสิทธิ์ ถึงแม้ว่าวิชาเฉพาะแพทย์จะสูงก็ตาม
: เหลือเวลาอีกเพียงแค่เดือนเดียวแบบนี้ พี่โหน่ง มีวิธีในการเตรียมสอบให้น้อง ๆ อย่างไรบ้างคะ?
พี่โหน่ง ออนดีมานด์ : พี่สอนเสมอนะ หลักง่าย ๆ เลยนะครับน้อง คือการฝึกจับเวลาในการทำข้อสอบ ปัญหาใหญ่ของการที่คะแนนไม่ถึงเพราะว่าน้องทำข้อสอบไม่ทัน เปลี่ยนมาลองจับเวลาตอนฝึกทำข้อสอบดู ข้อสอบแต่ละวิชาจำนวนข้อไม่เท่ากัน อย่างฟิสิกส์มี 25 ข้อ ก็เฉลี่ยไปเลยข้อละ 3 นาที ต้องเหลือเวลาในการตรวจและฝนด้วยนะน้อง
เมื่อลองฝึกทำข้อสอบเสร็จ จับเวลา ก็มาเฉลย ต้องเฉลยแบบละเอียดทีละข้อนะ ไม่ใช่ถูกผิดแล้วผ่านไป ต้องเจาะลงไปแต่ละข้อเลยว่านี้ถูกเพราะคิดถูกหรือเปล่า ข้อนี้ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะเราไม่รู้ หรือผิดเพราะเราไม่แม่น แก้ไปทีละข้อ แรก ๆ ก็ต้องใช้เวลาหน่อย แต่รับรองว่าได้ผลแน่นอนครับ แต่ที่สำคัญตอนลองทำโจทย์ไม่ใช่ว่าทำแค่ให้เกิน 30% พอนะน้อง ต้องทำให้ได้เกิน 40% เผื่อไว้พลาดวันสอบจริงอีกสัก 10% ด้วย
: จุดอ่อนของข้อสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ คืออะไรคะ?
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : คอนเซปต์ของวิชาสามัญวิทยาศาสตร์คือ "เยอะ" และ "ครบ" คือไม่ต้องกลัวเลยเพราะออกเนื้อหา ม.ปลายทั้งหมด ซึ่งบางทีอาจจะมากกว่านั้นด้วย หลักการง่าย ๆ เลยคือเขาจะนำเนื้อหาแต่ละวิชาทั้งหมดมาดูแล้วหารจำนวนข้อ ยกตัวอย่างเช่น ชีววิทยามีทั้งหมด 3000 หน้า พอหาร 100 ข้อ ตก 30 หน้าต่อ 1 ข้อ ก็เปิดเลยค่ะ เปิดไป 30 หน้าข้อสอบออก 1 ข้อ มันเลยทั้งเยอะและครบ
ด้วยความที่เยอะและครบนี่แหละ เลยมีจุดอ่อนของข้อสอบออกมาคือ ข้อสอบทั้งฉบับจะไม่สามารถออกยากหมด หรือ ง่ายหมดได้ ต้องออกเฉลี่ย ๆ กันทั้งระดับ ง่าย กลาง ยาก ประมาณส่วนละ 33% ถ้าใครรู้จุดอ่อนตรงนี้ก็จะเลือกทำข้อสอบได้ถูกสัดส่วนและได้คะแนนค่ะ
: ข้อสอบมีส่วนง่าย กลาง ยาก แบบนี้ เราจะเก็บคะแนนได้อย่างไรบ้างคะพี่วิเวียน?
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : อย่างที่พี่บอกไปว่านี่คือจุดอ่อนของข้อสอบวิชาสามัญที่ต่างกับ PAT ด้วยความที่อัตราข้อสอบจะเท่ากันอย่างละ 33% ทั้งง่าย กลาง ยาก เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บข้อสอบที่ง่ายและกลางก่อนเลยค่ะ ผิดบ้างถูกบ้างอย่างน้อยก็เกิน 30% แล้ว ส่วนข้อสอบยากของวิชาสามัญมันจะยากมาก ยากทะลุโลกไปเลย ถ้าเจอก็ข้ามไปเลยค่ะ อย่าไปเสียเวลากับตรงนั้น ยอมตัดแขนขาตัวเองบางส่วนเพื่อให้ชีวิตรอดดีกว่าค่ะ
ใครที่อยากจะเป็นหมอ 30% คงไม่พอแน่ ๆ อย่างน้อยต้องได้แต่ละวิชา 50-60% แล้วทำไงล่ะถึงจะได้? ... บอกเลยนะคะว่าทุกคนมีเวลาเตรียมตัวเท่ากัน ในเวลาที่จำกัดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธี ข้อสอบวิชาสามัญถึงแม้ว่าจะเยอะและครบขนาดไหน แต่บทหลัก บทใหญ่ ก็ยังออกเหมือนเดิมค่ะ บทไหนสำคัญ เนื้อหาเยอะ ออกเยอะ บทไหนไม่สำคัญ เนื้อหาน้อย ออกน้อย อย่างวิชาชีววิทยาบทที่สำคัญคือ พันธุศาสตร์ ความหลากหลาย นิเวศน์วิทยา ระบบประสาท การสังเคราะห์แสง ถ้าได้หลักการเรื่องนี้ รับรองว่าทำได้กว่า 50% แล้วค่ะ
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : คอนเซปต์ของวิชาสามัญวิทยาศาสตร์คือ "เยอะ" และ "ครบ" คือไม่ต้องกลัวเลยเพราะออกเนื้อหา ม.ปลายทั้งหมด ซึ่งบางทีอาจจะมากกว่านั้นด้วย หลักการง่าย ๆ เลยคือเขาจะนำเนื้อหาแต่ละวิชาทั้งหมดมาดูแล้วหารจำนวนข้อ ยกตัวอย่างเช่น ชีววิทยามีทั้งหมด 3000 หน้า พอหาร 100 ข้อ ตก 30 หน้าต่อ 1 ข้อ ก็เปิดเลยค่ะ เปิดไป 30 หน้าข้อสอบออก 1 ข้อ มันเลยทั้งเยอะและครบ
ด้วยความที่เยอะและครบนี่แหละ เลยมีจุดอ่อนของข้อสอบออกมาคือ ข้อสอบทั้งฉบับจะไม่สามารถออกยากหมด หรือ ง่ายหมดได้ ต้องออกเฉลี่ย ๆ กันทั้งระดับ ง่าย กลาง ยาก ประมาณส่วนละ 33% ถ้าใครรู้จุดอ่อนตรงนี้ก็จะเลือกทำข้อสอบได้ถูกสัดส่วนและได้คะแนนค่ะ
: ข้อสอบมีส่วนง่าย กลาง ยาก แบบนี้ เราจะเก็บคะแนนได้อย่างไรบ้างคะพี่วิเวียน?
พี่วิเวียน ออนดีมานด์ : อย่างที่พี่บอกไปว่านี่คือจุดอ่อนของข้อสอบวิชาสามัญที่ต่างกับ PAT ด้วยความที่อัตราข้อสอบจะเท่ากันอย่างละ 33% ทั้งง่าย กลาง ยาก เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บข้อสอบที่ง่ายและกลางก่อนเลยค่ะ ผิดบ้างถูกบ้างอย่างน้อยก็เกิน 30% แล้ว ส่วนข้อสอบยากของวิชาสามัญมันจะยากมาก ยากทะลุโลกไปเลย ถ้าเจอก็ข้ามไปเลยค่ะ อย่าไปเสียเวลากับตรงนั้น ยอมตัดแขนขาตัวเองบางส่วนเพื่อให้ชีวิตรอดดีกว่าค่ะ
ใครที่อยากจะเป็นหมอ 30% คงไม่พอแน่ ๆ อย่างน้อยต้องได้แต่ละวิชา 50-60% แล้วทำไงล่ะถึงจะได้? ... บอกเลยนะคะว่าทุกคนมีเวลาเตรียมตัวเท่ากัน ในเวลาที่จำกัดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธี ข้อสอบวิชาสามัญถึงแม้ว่าจะเยอะและครบขนาดไหน แต่บทหลัก บทใหญ่ ก็ยังออกเหมือนเดิมค่ะ บทไหนสำคัญ เนื้อหาเยอะ ออกเยอะ บทไหนไม่สำคัญ เนื้อหาน้อย ออกน้อย อย่างวิชาชีววิทยาบทที่สำคัญคือ พันธุศาสตร์ ความหลากหลาย นิเวศน์วิทยา ระบบประสาท การสังเคราะห์แสง ถ้าได้หลักการเรื่องนี้ รับรองว่าทำได้กว่า 50% แล้วค่ะ
ภาษาไทย และ สังคม 7 วิชาสามัญ
ภาษาไทย ข้อสอบ 7 วิชาสามัญเพิ่งจะสอบปีที่แล้วเป็นปีแรก จึงทำให้เราสามารถมาวิเคราะได้ โดยวิชาภาษาไทยเน้นเรื่อง การใช้ การอ่าน และ ภาษา 3 เรื่องนี้มาแน่ ๆ 100% โดยเฉพาะการอ่านสำคัญมาก น้อง ๆ หลายคนคิดว่าเราอ่านแล้วเข้าใจ พี่เลยอยากจะเตือนว่า เวลาอ่านถ้าโจทย์ถามมาว่า สารสำคัญ หรือ ความคิดของผู้เขียน หรือ เจตนาของผู้เขียน พี่จะบอกได้เลยว่าคำเหล่านี้ไม่เหมือนกันเลย เราต้องเข้าใจก่อนว่ามันคืออะไร ในแง่ของภาษาไทยนั้นอย่าคิดเอง หรือ อนุมาณจากข้อความ ถ้าอนุมาณคือต้องเอาข้อความที่เขาถามมาคิดต่ออีกนิดนึง แต่ถ้าเขาถามว่าอะไรสอดคล้องกับข้อความข้างต้น ห้ามคิดเองเด็ดขาด เพราะเหตุนี้(การคิดเอง) ทำให้น้อง ๆ หลายคนออกจากห้องสอบแล้วบอกว่าได้ 50-60 คะแนนแน่ ๆ แต่จริง ๆ แล้วได้แค่ 30-40 คะแนน โดยมองดี ๆ ในข้อสอบมันจะมีมันจะมีคีย์เวิร์ดว่าข้อนี้ถามอะไร จะเป็นการอนุมาณ, สาร, ความสอดคล้อง, แนวคิด อะไรแบบนี้ | สังคมศึกษา ส่วนของวิชาสังคมศึกษา ข้อสอบจะมีเนื้อหากระจายทั่วเท่ากันทุกสาระวิชาทั้ง 5 สาระวิชา โดยแบ่งเป็นสาระวิชาละ 10 ข้อ ส่วนเนื้อหาที่ ออกเยอะคือ ส่วนของเศรษฐศาสตร์มาแน่! เนื้อหาส่วนที่ออกน้อยลงคือ สังคมวิทยา มนุษย์กับคนอะไรประมาณนี้ คือข้อสอบก็ยังคงมีอยู่แต่ลดลงน้อยมาก โดย เศรษฐศาสตร์ ยังคงมาเต็มอยู่ พี่คิดว่าส่วนของเศรษฐศาสตร์จะเป็นเรื่องที่ทำให้น้อง ๆ ได้คะแนน เรื่องภูมิศาสตร์ข้อสอบกระจาย และมีส่วนที่ไม่ค่อยตรงกับเนื้อหาในหลักสูตของ ม.ปลายค่อนข้างเยอะ ในส่วนของประวัติศาสตร์จะเน้นหนักไปที่ประวัติศาสตร์สากล นอกจากนี้แล้วส่วนของสถานการณ์บ้านเมืองก็จะมีบ้างเล็กน้อย คือ พี่อยากจะบอกว่าไม่ค่อยคุ้มกับการลงทุนนั่งอ่านส่วนนี้ อย่าง 7 วิชาสามัญที่ผ่านมา เราเอาหนังสือของเรามาเทียบ น้องต้องได้ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ความหมายคือออกตรงเนื้อหาแป๊ะ ๆ ดังนั้นให้น้อง ๆ ไปโฟกัสเนื้อหาม.ปลายเน้น ๆ จะได้คะแนนแน่กว่าครับ |
7 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ คืออะไร
7 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ คือข้อสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ จัดโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. แต่ละคณะของมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดว่าต้องสอบวิชาไหนบ้าง ต้องสอบภาษาอังกฤษด้วยไหม น้องๆควรตรวจสอบข้อมูลจากคณะที่ต้องการสมัครให้ดี อย่างไรก็ตามพวกคณะที่มีการแข่งขันสูงๆ ส่วนใหญ่มักต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษด้วย เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
7 วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ ทดสอบอะไร
ข้อสอบตัวนี้ จะมีสามส่วนหลักๆ ได้แก่ Listening and Speaking, Reading และ Writing ข้อสอบมี 80 ข้อ (รายละเอียดข้างล่างยึดตามการสอบครั้งล่าสุด ซึ่งสอบในปี 2556)
Part I : Listening and Speaking (20 ข้อ)
- Conversation 1 (4 ข้อ)
- Conversation 2 (7 ข้อ)
- Conversation 3 (9 ข้อ)
ในส่วนนี้จะมีบทสนทนามาให้ 3 บทสนทนา แต่ละบทสนทนา ก็จะมีช่องว่างเว้นเอาไว้เป็นคำถาม ลักษณะคำถามก็คือ ถ้าคนแรกพูดแบบนี้ คนที่สองควรจะพูดตอบอะไรกลับไป และมีตัวเลือกมาให้ 5 ข้อ คำถามในส่วนนี้ บางข้อก็จะเป็นบทสนทนาแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่หลายข้อ ก็ต้องอาศัยความรู้เรื่องidioms คือต้องรู้สำนวนต่างๆดีพอสมควรจึงจะตอบคำถามได้ พวกสำนวนเหล่านี้ ใช้การแปลตรงตัวไม่ได้ครับ บางสำนวนอาจพอเดาได้ แต่บางสำนวนต้องเรียนรู้ความหมายมาก่อน ดังนั้น น้องคนไหนที่มีความรู้รอบตัวด้านภาษา ชอบศึกษาเรื่องนี้เป็นทุนเดิมมาก่อนก็จะได้เปรียบคนอื่น และจะสามารถตุนคะแนนในส่วนนี้ไปได้เยอะครับ ส่วนน้องๆที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้ด้วยตนเองมาก่อน ก็ไม่ต้องห่วง เพราะความรู้มันตามกันทัน สามารถค้นคว้า หาอ่านเองได้ จากหนังสือที่สอนพูด หรือ สอน Idioms หรือ จะลงคอร์สติวสอบ ซึ่งได้รวบรวมกลุ่มคำเหล่านี้ไว้ให้แล้ว สามารถนำไปใช้เตรียมสอบได้ทันทีก็ได้
Part II : Reading (มี 40 ข้อ)
- Graph and Ads (8 ข้อ)
- Passages 1-4 (32 ข้อ)
ในส่วนของ Graph and Ads จะมีป้ายโฆษณา กราฟ/บทความสั้นๆ มาให้อ่าน และมีคำถามทดสอบความเข้าใจ ในส่วน Passages ก็จะมีบทความที่มีความยาว 1 –2 หน้ามาให้อ่าน และมีคำถามตามมาทดสอบความเข้าใจ ส่วนเนื้อหาของแต่ละ Passage ก็จะแตกต่างกันไป เช่นในการสอบครั้งนึง อาจมีบทความที่เกี่ยวกับทั้งด้านธุรกิจ การเกษตร วิทยาศาสตร์ และเรื่องนวัตกรรมมาทดสอบนักเรียน นักเรียนที่เตรียมพร้อมมาดี รู้ศัพท์กว้าง เรียนรู้หลักการอ่าน และการแปลมา จะไม่กังวลเลยว่าจะเป็นบทความด้านใด และจะสามารถทำคะแนนส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็น พาร์ท"ทำคะแนน"สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้เลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ตามสำหรับนักเรียนที่ไม่ถนัดพาร์ท Reading นัก ปัญหาที่มักพบได้บ่อยๆ ก็คือ อ่านไม่รู้เรื่อง หรือ ทำไม่ทัน และทำให้ต้องทิ้งดิ่งก่อนหมดเวลาสอบ หากใครไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับตนเอง ขอแนะนำให้เตรียมตัวเรียนรู้ และฟิตซ้อมตั้งแต่เนิ่นๆ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ใดๆ ก็ล้วนเริ่มต้นที่ก้าวแรกเสมอครับ... อย่ากลัวที่จะเริ่มต้น ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งได้เปรียบ คนที่ลังเล เริ่มออกตัวช้า ก็จะเสียเวลาเตรียมตัวไปโดยใช่เหตุ และอาจทำให้พลาดโอกาสไปได้ครับ จำไว้ว่าไม่มีข้อสอบใด ที่ยากเกินกว่าความตั้งใจของเราไปได้หรอกครับ
Part III : Writing (มี 20 ข้อ)
- Cloze Test (15 ข้อ)
- Paragraph Organization (5 ข้อ)
Cloze Test จะมี 3 บทความ ซึ่งจะเป็นการทดสอบทั้งด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ไปด้วย ซึ่งเป็นอะไรที่สามารถเรียนรู้กันได้ มันมีหลักการที่ใช้ในการตอบคำถามแบบตายตัว และใช้ได้ผลเสมอ ส่วน Paragraph Organization จะให้ประโยคมาให้ 5 ประโยค หน้าที่ของนักเรียนก็คือจะต้องเรียงลำดับประโยคให้ถูกต้อง ส่วนนี้จริงๆแล้วไม่ยากเลย โดยเฉพาะนักเรียนที่เตรียมพร้อมมา จะเข้าใจวิธีการมองโจทย์ และจะไม่มีปัญหาในส่วนนี้เลย
7 วิชาสามัญ คืออะไร
Cr. http://www.niets.or.th/index.php/faq/view/14
https://www.opendurian.com/news/what_is_7_math/
http://www.dek-d.com/admission/26262/
http://www.dek-d.com/admission/30459/
http://www.chil-english.com/7-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9/
http://www.dek-d.com/admission/35957/
https://www.youtube.com/watch?v=P4-cI4FsZ28
No comments:
Post a Comment